วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ธรรมชาติกับเวลาและการคำนวณ
       เมื่อหยิบนาฬิกามาดูแล้ว เราจะรู้เวลาได้ทันที ยิ่งในปัจจุบันมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการแสดงผลเวลาอย่างอัตโนมัติ เช่นเห็นเวลาบนหน้าปัทม์แสดงเป็นเวลาขณะนั้น


          หลายคนอาจจะขบคิดว่าการคิดเวลามีหลักการอย่างไร ทำไมประเทศไทยทุกจังหวัดจึงใช้เวลาเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งแตกต่างกัน ย่อมจะมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกแตกต่างกัน กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกยังต้องอ้างอิงตำแหน่ง เช่น พระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต เวลา 18:05 การคำนวณเวลาหรือการคิดเวลามีลักษณะที่มาและสามารถคำนวณเวลาได้อย่างไร
          จากหลักการพื้นฐานทราบว่าโลกหมุมรอบตัวเอง โดยหมุนตามแกนของขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ตามความเป็นจริงแล้ว แนวแกนหมุนของโลกชี้ไปในตำแหน่งดาวเหนือ เราอาจจินตนาการทรงกลมท้องฟ้าที่มีดวงดาวเป็นทรงกลมนอก และโลกเป็นลูกทรงกลมใน แกนหมุนของโลกชี้ที่ตำแหน่งดาวเหนือ เส้นแบ่งกึ่งกลางของทรงกลมด้านเหนือและใต้เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรโลก (Celestial Equator)
         การทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติ และทรงกลมท้องฟ้าจำเป็นต้องสร้างจินตนาการแบบสามมิติ เพื่อให้มองเห็นหรือสร้างความเข้าใจได้โดยง่าย
          การมองท้องฟ้าทำให้เห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ จักรราศีทั้ง 12 ราศี ล้วนแล้วแต่เป็นการสังเกตบนโลก คนโบราณให้ความสำคัญในการคำนวณด้วยมาตรการที่ถือว่าโลกเป็นจุลศูนย์กลาง วิธีการนี้เรียกว่า Geocentric Measurement  แต่ในทางดาราศาสตร์ ให้ดวงอาทิตย์และดวงดาวฤกษ์อยู่กับที่ และให้โลกกับดาวเคราะห์เคลื่อนที่  การคำนวณโดยให้ดวงอาทิตย์อยู่กับที่เรียกว่าการใช้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง หรือเรียกเป็นคำศัพท์ว่า Heleiocentric Measurement ภาษากรีกใช้คำว่า Geo แปลว่าโลก Heleios แปลว่าดวงอาทิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น